“ไม่เห็นด้วย” แต่พูดไม่ได้
ReadyPlanet.com


“ไม่เห็นด้วย” แต่พูดไม่ได้


 ปัญหา “ความเห็นต่าง” แม้ว่าจะชัดเจนรุนแรงที่สุดคือ เรื่องการเมืองในช่วง 10 กว่าปีหลัง (เริ่มตั้งแต่ราวปี พ.ศ.2549-50) ที่หากไม่เห็นด้วยอะไรกับใครแล้ว พูดคุยกันยาก แต่ในความเป็นจริง หลายเรื่องทั้งในชีวิตประจำวันและในสังคมเราก็ไม่ค่อยรับความเห็นต่างของกันมานานแล้ว pgslot

ถ้าไตร่ตรอง หรือมองไปเปรียบเทียบที่อื่น ๆ เริ่มจากการเมือง ทุกประเทศก็ย่อมมีคนเห็นต่างกัน และในหลายประเทศชัดเจนว่ามีเพียง 2 พรรคใหญ่ที่อยู่ตรงข้ามกันเสมือน ซ้าย กับ ขวา ทว่าเขาอาจมีปัญหา มีความไม่พอใจอีกฝ่ายกันอยู่บ้าง แต่ไม่รุนแรง หรือหากกระทบกระทั่งก็ไม่แผ่ไปกว้างขวาง และยืดเยื้อที่สำคัญ ไม่ลุกลามไปเรื่องอื่นเหมือนบ้านเรา… ทำไม?

การเมืองเป็นแค่ผลลัพธ์หนึ่งที่ชัดเจนในวันนี้เพียงเท่านั้น ส่วนตัวมองว่าปัจจัยพื้นฐานมาจากค่านิยม ลักษณะนิสัยของคนส่วนใหญ่ในประเทศเราเอง จึงส่งผลไปถึงปัญหาการเมืองด้วยต่างหาก..

ลองนึกดูตัวอย่างในเรื่องการทำงาน ท่านคงเห็นได้จากประสบการณ์ การได้คุย ได้อ่าน ได้ฟัง หรือสัมผัสด้วยตัวเอง จะพบว่า หลายประเทศ คุณสามารถทะเลาะกันได้ด้วยประเด็นในงาน และจบเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น คุณสามารถวิจารณ์สิ่งหนึ่งอย่างเข้มข้น แต่อีกฝ่ายอาจยอมรับแต่โดยดี หรือกับคำว่า Feedback (ฟีดแบค-การสะท้อนกลับ) ที่ผมเคยเขียนไปในบทความ ‘‘อย่าโทษใคร ในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับเรา’ ว่า แม้จะเป็นด้านดี แต่อีกฝ่ายก็มีสิทธิคิดว่า “กำลังโดนตำหนิ” ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นการ ติเพื่อก่อ หรือเจตนาดีมากแค่ไหนก็ตาม

แน่นอนเราเหมารวมทุกคนในสังคมไม่ได้ อาจเป็นเรื่องส่วนบุคคล คนที่เปิดรับก็มี คนที่ไม่ค่อยเปิดรับก็มี ทั้งบ้านเราและในประเทศอื่น ซึ่งผมก็ไม่ได้คิดเปรียบประเทศเรากับประเทศไหน แค่มองพื้นฐานความจริงของสังคม และค่านิยมบางประการของบ้านเรา

เมื่อเป็นความเชื่อ จึงห้ามลบหลู่..

เรื่องแรกคือ “ความเชื่อ” เมื่อประโยคอย่างคำว่า “ไม่เชื่ออย่าลบหลู่” ยังเป็นอะไรที่คนส่วนใหญ่ยอมรับ โดยที่แม้ว่ามันจะจริงหรือไม่จริงก็ตาม? เราห้ามลบหลู่ ผีสาง เทวดา ใด ๆ ทั้งสิ้นเพียงเพราะมีคนเชื่อ?

ถ้าว่ากันตามครรลอง ก็ไม่ควรลบหลู่ความเชื่อใครนั่นแหละ แต่บางทีก็ต้องแยกแยะระหว่าง “ลบหลู่ กับ ดูถูก” เช่น คนที่ไม่ไหว้เจ้า/เทพ อาจด้วยเหตุผลการนับถือศาสนา หรือไม่ได้ศรัทธาก็ตาม เช่นนี้ คือลบหลู่ หรือไม่? คำตอบส่วนใหญ่อาจมองว่ายังไม่ลบหลู่ แต่ถ้ายกเท้าให้จนถึงกระทำในลักษณะย่ำยีบางประการ แบบนี้ “การกระทำ” ลบหลู่ ชัดเจน

แต่ถ้า “ทางคำพูด” ล่ะ??

ถ้าเพียงพูดขึ้นมาว่า “ไม่เชื่อเจ้า ไม่เชื่อเทพหรอก” เขาก็ว่าลบหลู่กันแล้ว หรือบางครั้งเพียงแค่ตั้งข้อสงสัยพูดออกมาในทำนองว่า “ศักดิ์สิทธิ์จริงหรือ?” เช่นนี้ก็มีคนครหาได้ทันที แล้วอะไรคล้าย ๆ นี้จึงกลายเป็นสิ่งที่เรา.. พูดไม่ได้ ไม่งั้นไปลบหลู่เขา?

ความเชื่อ ต้องมองข้ามความถูก-ผิดไหม?

สมมติอย่างหนึ่งแล้วกันว่า วันหนึ่งผมไปบ้านคุณแล้วชี้ไปจุดหนึ่งกลางหน้าบ้านแล้วบอกว่า “วิญญาณเจ้าคุณปู่เสียชีวิตตรงนี้ ขอตั้งศาลเจ้าที่ได้ไหม?” พร้อมอ้างร่างทรง นิมิต เรื่องราวแปลก ๆ ให้คุณฟัง ถ้าคุณไม่เชื่อที่ผมพูด บ้านคุณเองก็จะอยู่ไม่เป็นสุข (แช่งคุณด้วย) คำถามคือ คุณจะยอมให้ตั้งศาลไหม?

หลายคนคงตอบทันที “ไม่ให้ตั้ง” เพราะไม่เชื่อ.. แต่ก็มีบางส่วนอาจบอกว่า “ถ้าเป็นเรื่องจริง(พิสูจน์) ก็จะให้ตั้ง” ซึ่งไม่ได้หมายความว่าต้องพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ใด ๆ แค่เป็นการพิสูจน์ไปในทางวิญญาณ เหมือนกัน โดยหาคนที่ตนเชื่อมา…



ผู้ตั้งกระทู้ mii (lelemimi888-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2023-06-09 10:37:34


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2013 All Rights Reserved.